วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
นวนจันทร์
ปลานวลจันทร์ (อังกฤษ : Small scale mud carp) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus microlepis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน(Cyprinidae) วงศ์ย่อย Labeoninae มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม
นวลจันทร์มีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ
เป็นปลาที่หายาก ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง
นวลจันทร์มีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า "พอน" และ "พรวน" ในภาษาเขมร และจัดเป็นปลาประจำจังหวัดสุรินทร์[1] เช่นเดียวกับปลาแกง (C. multitorella) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันที่เป็นปลาประจำจังหวัดเลย
- สำหรับปลาน้ำเค็ม ดูที่ ปลาชะลิน
- สำหรับปลาจากประเทศอินเดีย ดูที่ ปลานวลจันทร์เทศ
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ปลาเค้า
ภาพโดย: วี อยุธยา ติ๊ดซึ่ง
ปลาเค้าขาว (อังกฤษ: Great white sheatfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Wallago attu) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวและจงอยปากปากยื่นแหลม ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยด้านหลังของลูกตา มีฟันแหลมเล็กบนขากรรไกร ตาเล็ก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงครีบก้น หัวและลำตัวตอนหน้าแบนข้างเล็กน้อย แต่ตอนท้ายแบนข้างมาก ส่วนหลังป่องออก ครีบหลังอันเล็กมีปลายแหลม ครีบหางเว้า ตื้น ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ตัวมีสีเงินวาวอมเขียวอ่อนที่ด้านหลัง ในปลาบางตัวมีแถบยาวสีคล้ำที่ด้านข้างลำตัว ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีครีบสีคล้ำอมเหลืองอ่อน มีขนาดโดยเฉลี่ย 70 - 80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร มักหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เวลาล่าเหยื่อจะว่องไวและดุดันมาก ในบางครั้งที่ล่าเหยื่อบนผิวน้ำกระแทกตัวกับน้ำจนเกิดเสียงดัง[1]
พบในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, แม่น้ำสาละวินถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้และคาบสมุทรมลายู เป็นปลาที่นิยมบริโภคโดยปรุงสด รมควัน มีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้แล้วยังนิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ โดยมีชื่อเรียกในภาคอีสานว่า "เค้าคูน"[1]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 9789748990026
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ปลายี่สก
ภาพโดย: Chalermpong
ตัวนี้ขึ้นท่าน้ำทีบ้านไทรโ ยคกาญ 24กิโล ไอ้ตัว40โลยังหารูปไม่เจอคา บ ผมเรียกมันว่าปีศาจแควน้อยค าบ ยังเอาไม่ได้อีกหลายตัวมันเ อาเบ็ดผมหล่นน้ำไป2คันรอกไม ่ได้ร้องสักแอะ สนใจต้องเข้าหน้าหนาวก่อนให ้น้ำมันลง ถึงเล่นได้ คงเป้นช่วงพฤจิกายนถึงเมาาค าบ ตอนนี้ก็รอเล่นอยู่ใจจะขาดแ ล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ปลาไน สีทอง
ปลาไน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาคาร์ป (อังกฤษ: Carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง
เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำ
ปลาไนมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร หนักกว่า 40 กิโลกรัม และสามารถวางไข่ได้ถึง 1 แสนฟอง ชอบอาศัยรวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำไหลเชี่ยว และสามารถปรับตัวได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ แต่จะไม่วางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศจีนตะวันตกและภูมิภาคยุโรปตะวันออกปลาไนมีชื่อเรียกในภาษาแต้จิ๋วว่า หลีฮื้อ (จีนตัวเต็ม: 鯉魚) (ในภาษาไทยเรียกรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันว่า ปลาจีน) นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง แต่ในบางภูมิภาค เช่น ออสเตรเลีย ปลาไนได้ถูกนำเข้าและถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาต้ จนแพร่ขยายพันธุ์กระทบต่อสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ มีฉายาเรียกว่า "กระต่ายแม่น้ำ" (River Rabbit)
ในประเทศไทยถูกนำเข้าโดยชาวจีนที่เดินทางมาทางเรือ ในปี พ.ศ. 2455 เพื่อเป็นอาหาร และได้ถูกเลี้ยงครั้งแรกในพื้นที่แถบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ปลากระโห้
ปลากระโห้ (อังกฤษ: Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย[1] โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ
เนื้อหา
[ซ่อน]วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ปลาช่อน - Channa
ในประเทศไทยมีการสำรวจพบปลาผู้ล่าในสกุลปลาช่อน (Channa) ทั้งหมด 8 ชนิด
1. ปลาช่อนข้าหลวง(Channa marulioides)
ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 ซ.ม. ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น
2. ปลาช่อนงูเห่า(Channa aurolineatus)
มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 ซ.ม. พบได้บางพื้นที่ ยกเว้นภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนล่าง
3. ปลาก๊วนหรือปลาช่อนงูเห่าแม่น้ำโขง(channa Sp.)
เป็นปลาช่อนชนิดล่าสุดของไทยที่ถูกจำแนกชนิดใหม่ มีขนาดโตเต็มที่ราว 60 ซ.ม. มีรายงานพบทางแม่น้ำโขงและสาขาของแม่น้ำโขงในประเทศลาว
4. ปลาช่อนดำ(Channa melasoma)
ขนาดโตเต็มราว 30 ซ.ม. พบได้เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส และแม่น้ำโกลก ภาคใต้
5. ปลาชะโด (Channa micropeltes)
พี่ใหญ่สุดของปลาในสกุลนี้ ที่เรารู้จักกันดีค่ะ พบได้ทั่วทุกภาค
6. ปลากระสง (Channa lucius)
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ทุกภาค แต่พบการกระจายพันธุ์น้อยสุดในสี่ชนิดหลังนี้
7. ปลาช่อน (Channa striata )
ถือเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดีที่สุดและยกให้เป็นปลาครูของนักตกปลา พบได้ทั่วทุกภาคค่ะ
8. ปลาก้าง (Channa limbata)
น้องเล็กสุดของปลาในสกุลนี้ครับ พบได้ทุกภาค สุดต้นน้ำบนยอดเขาจะพบปลาก้างเพียงชนิดเดียวในสกุลนี้
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ภาพโดย: Mond
ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 กิโลกรัม
มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาเหนือ เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)