วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ปลาช่อน - Channa
ในประเทศไทยมีการสำรวจพบปลาผู้ล่าในสกุลปลาช่อน (Channa) ทั้งหมด 8 ชนิด
1. ปลาช่อนข้าหลวง(Channa marulioides)
ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 ซ.ม. ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น
2. ปลาช่อนงูเห่า(Channa aurolineatus)
มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 ซ.ม. พบได้บางพื้นที่ ยกเว้นภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนล่าง
3. ปลาก๊วนหรือปลาช่อนงูเห่าแม่น้ำโขง(channa Sp.)
เป็นปลาช่อนชนิดล่าสุดของไทยที่ถูกจำแนกชนิดใหม่ มีขนาดโตเต็มที่ราว 60 ซ.ม. มีรายงานพบทางแม่น้ำโขงและสาขาของแม่น้ำโขงในประเทศลาว
4. ปลาช่อนดำ(Channa melasoma)
ขนาดโตเต็มราว 30 ซ.ม. พบได้เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส และแม่น้ำโกลก ภาคใต้
5. ปลาชะโด (Channa micropeltes)
พี่ใหญ่สุดของปลาในสกุลนี้ ที่เรารู้จักกันดีค่ะ พบได้ทั่วทุกภาค
6. ปลากระสง (Channa lucius)
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ทุกภาค แต่พบการกระจายพันธุ์น้อยสุดในสี่ชนิดหลังนี้
7. ปลาช่อน (Channa striata )
ถือเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดีที่สุดและยกให้เป็นปลาครูของนักตกปลา พบได้ทั่วทุกภาคค่ะ
8. ปลาก้าง (Channa limbata)
น้องเล็กสุดของปลาในสกุลนี้ครับ พบได้ทุกภาค สุดต้นน้ำบนยอดเขาจะพบปลาก้างเพียงชนิดเดียวในสกุลนี้
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ภาพโดย: Mond
ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 กิโลกรัม
มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาเหนือ เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)