วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

ปลาช่อน (Channidae)

ปลาช่อน

วงศ์ปลาช่อน (Channidae)

   ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ (Cycloid) ปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า suprabranchia จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้
   แพร่พันธุ์โดยการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับพื้นที่น้ำตื้น ๆ ให้เป็นแปลงกลม แล้ววางไข่ลอยเป็นแพ ตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่จนไข่ฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงลูกปลาจนโต เรียกว่า "ลูกครอก" ซึ่งมีสีแดงหรือส้ม รูปร่างคล้ายพ่อแม่ จากนั้นจึงปล่อยให้หากินเอง
   พบในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย ปัจจุบันพบทั้งสิ้น 31 ชนิด (Species) (และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้อนุกรมวิธาน) แบ่งเป็น สกุล (Genus) คือ Parachanna 3 ชนิด และ Channa 28 ชนิด พบในแอฟริกา ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบประมาณ 10 ชนิด ปลาขนาดเล็กสุดคือ ปลาก้าง (Channa limbata) ซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน ฟุต และใหญ่ที่สุดคือ ชะโด (Channa micropeltes) ที่ใหญ่ได้ถึง 1-1.5 เมตร
   จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่งก็ว่าได้ โดยปลาช่อนชนิดที่นิยมนำมาบริโภคคือ ปลาช่อนนา (Channa straita) ซึ่งพบได้ทุกแหล่งน้ำและทุกภูมิภาค
   ฉะนั้น เรามาทำความรู้จักกัน เนื่องจากปลาในตระกูลนี้ที่พบแล้ว 31 ชนิด แบ่งเป็น สกุล (Genus) คือ Parachanna 3 ชนิด และ Channa 28ชนิด

เรามาเริ่มที่สกุลChanna กันก่อนเลยครับ

1 Channa amphibeu
s (McClelland, 1845) ปลาช่อนเชล หรือ ปลาช่อนบอร์นา
ชื่อทั่วไป : Borna snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 90.0 cm TL 

แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินเดีย และ ภูฐาน 

เป็นปลาที่อาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำเชล
 ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตร ใกล้กับเชิงเทือกเขาหิมาลัยในภูฏานและปากีสถาน ซึ่งจะอาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิค่อนข้างอุ่น ประมาณ 22-28 องศาเซลเซียสนับเป็นปลาช่อนขนาดกลางที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ C. barca และ C. aurantimaculata ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีสีสันที่ใกล้เคียงกัน แต่ว่ามีจำนวนก้านครีบหลัง 50 ก้าน ก้านครีบก้น 35 ครีบ มีเกล็ดข้างลำตัวมากถึง 81เกล็ด นับว่ามากกว่าชนิดอื่น ๆ ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าเล็กกว่า ชนิดข้างต้น


** บางครั้งจะสับสนกับ Channa barca

มีแต่ภาพวาดนะครับ





2 Channa argus argus (Cantor, 1842) 
ชื่อทั่วไป : Snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 100.0 cm TL 
สภาพภูมิอากาศ : เขตอบอุ่น 14 - 22 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเขีย : จีน และ ทางตะวันตกของเกาหลีใต้. ญี่ปุ่น และเป็นชนิดที่มีรายงานว่าไปคุกคามปลาท้องถิ่นในประเทศอเมริกา


3 Channa argus warpachowskii (Berg, 1909) 
ชื่อทั่วไป : Amur snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 80.0 cm TL 
สภาพภูมิอากาศ : เขตอบอุ่น 4 - 20 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : จากรัสเซีย ทะเลสาป Khanka. ตอนกลางและตอนล่างของ Amur. แต่ไม่พบในแม่น้ำ Suifun. พบมีการนำเข้ามายังลุ่มน้ำ Aral ในปี 1960 และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และกระจายไปยังตอนล่างของ Amu Darya, Syr Darya และแม่น้ำ Kashka-Darya. ปัจจุบันมีการนำเข้าไปยัง Talas และ แม่น้ำ Chu



4 Channa asiatica (Linnaeus, 1758) ปลาช่อนเล็ก
ชื่อทั่วไป : Amur snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 20.0 cm TL 
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22 - 28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ลุ่มแม่น้ำ Yangtze ตอนกลางของจีน ไต้หวัน, เกาะ Hainan ลุ่มแม่น้ำแดง ของเวียตนามเหนือ. และมีรายงานว่าพบที่ญี่ปุ่นและศรีลังกาด้วย



5 Channa aurantimaculata (Musikasinthorn, 2000)  ปลาช่อนออแรนติ
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 19.1 cm SL
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน

แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินเดีย


มีความยาวเต็มที่ประมาณ 45 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำรามบุตรา ซึ่งเป็นแควสาขาของแม่น้ำพรหมบุตร ในตอนเหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย โดยในตอนแรกมักถูกสับสนกับปลาช่อนบาร์กาเนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกันมากและพบในแหล่งน้ำเดียวกัน แต่ได้ถูกอนุกรมวิธานปรัชญา มุสิกสินธร นักมีนวิทยาชาวไทย ที่ได้เข้าไปศึกษาปลาในประเทศอินเดียเมื่อปี ค.ศ. 2000

6 Channa bankanensis (Bleeker, 1852) ปลาช่อนแบงก้า
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 23.5 cm TL 
สภาวะแวดล้อม : pH 2.8-3.8
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย


7 Channa baramensis (Steindachner, 1901)

ชื่อทั่วไป : Baram snakehead

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน

แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : มาเลเซีย


8 Channa barca (Hamilton, 1822) 
ชื่อทั่วไป : Barca snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 90.0 cm TL 
สภาพแวดล้อม : เป็นชนิดที่มีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน
สภาพภูมิอากาศ : เขตอบอุ่น 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินเดีย และ บังคลาเทศ


9 Channa bleheri (Vierke, 1991)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 13.5 cm SL
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินเดีย


10 Channa burmanica (Chaudhuri, 1919)
ชื่อทั่วไป : Burmease snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : - 
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : พม่า


11 Channa cyanospilos (Bleeker, 1853) ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 17.6 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินโดนีเซีย (สุมาตรา)


12 Channa diplogramma (Day, 1865) 
ชื่อทั่วไป : Indian Giant Snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : -
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : Cochin, ชายฝั่ง Malabar, อินเดีย


13 Channa gachua (Hamilton, 1822) 
ชื่อทั่วไป : 
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 20.0 cm SL
สภาวะแวดล้อม : pH 6 - 7
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22-26 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ศรีลังกา จนถึง แม่กลอง และ บาหลี อินโดนีเซีย. รวมถึง Maharashtra, อินเดีย



14 Channa harcourtbutleri (Annandale, 1918) 
ชื่อทั่วไป : Inle snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 18.5 cm SL
สภาวะแวดล้อม : อาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : พม่า


15 Channa lucius (Cuvier, 1831) ปลากระสง  ชื่ออื่น กระจน(อีสาน) ช่อนไช (ใต้)
ชื่อทั่วไป : Pla kra song 
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 40.0 cm SL
สภาวะแวดล้อม : เป็นชนิดที่มีการอพยพ
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22 - 26 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ไทย และ อินโดนีเซีย

อาจฟังไม่คุ้นหูคนทั่วไปเท่าปลาช่อนหรือปลาชะโด อาจเป็นเพราะมันหาตัวยากกว่าและมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อน จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมจับมากินเป็นอาหาร ทั้งที่จริง ๆ แล้วเนื่อมันก็มีรสชาติพอใช้ได้ทีเดียวเชียวแหละ ปลากระสง เด่นที่ลวดลายด้านข้างของลำตัว มีลักษณะคล้ายจุดกลมเรียงเป็นแถวสองแถวขนานกัน บนพื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเหลือง อมเทา ดูไปดูมาคล้ายงูอนาคอนด้า ดีเหมือนกัน เทียบปลากระสงกับปลาช่อนและปลาชะโดแล้วเห็นได้ชัดว่าส่วนหัวของปลากระสงจะเล็กเรียวแหลมกว่ามาก อาหารของมันจึงไม่ค่อยโลดโผนใหญ่โตนัก ส่วนใหญ่เป็นลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ทั่วไป 

ในธรรมชาติ ปลากระสงชอบลอยตัวนิ่งในลำธารหรือแม่น้ำสายเล็กไหลเอื่อยหรือหยุดนิ่งที่มีพืชน้ำชั้นค่อนข้างหนาแน่น เพื่อดักจับเหยื่อ ปลากระสงไม่ก้าวร้าวดุร้ายเท่าหัวงูชนิดอื่น แต่ก็มีเขี้ยวแหลมคมสองแถวในปากการเลือกเฟ้นปลาที่จะมาเป็นเพื่อนร่วมตู้จึงต้องดูคุณสมบัติให้ไวเข้าไว้ การจัดตู้ก็เหมือนกลุ่มหัวงูชนิดอื่น เพียงแต่ให้ร่มครึ้มมากกว่าสักหน่อยเพราะดูเหมือนมันจะขี้อายถ้าอยู่ในที่โล่งเกินไป





16 Channa maculata (Lacep่de, 1801) 
ชื่อทั่วไป : - 
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 20.0 cm TL 
สภาวะแวดล้อม : 
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ญี่ปุ่น, จีนตอนใต้, เวียตนาม, ไต้หวัน และ ฟิลิปปินส์


17 Channa marulioides (Bleeker, 1851) ปลาช่อนข้าหลวง  ช่อนทอง (นราธิวาส)
ชื่อทั่วไป : - 
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 27.0 cm TL 
สภาวะแวดล้อม : 
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินโดนีเซีย และ มาเลซีย
เป็นปลาหายาก มีขนาดใหญ่และมีสีสันสวยงาม รูปร่างโดยรวมดูคล้ายปลาช่อนงูเห่า ทว่าสั้นป้อมกว่าสีของลำตัวด้านบนเข้มเหลืองสลับดำอมเขียวลำตัวส่วนท้ายมีลายบั้งจาง ๆ คล้ายช่อนงูเห่าส่วนท้องออกจาง ดูเผิน ๆ คล้ายสีนั้นแบ่งเป็นสองโทนตรงกลางแนวนอนลำตัวพอดิบพอดี ในตลาดปลาสวยงามปลาช่อนข้าหลวงถือเป็นปลาคลาสสิค เป็นปลาชั้นสูงมีสกุลสมชื่อจริงๆ แต่การเลี้ยงก็เหมือนกลุ่มหัวงูอื่น ๆ คือกินแหลกและไม่ค่อยจู้จี้จุกจิกมากนัก ชอบตู้กว้าง ๆ จัดตกแต่งพอเหมาะพอควร ไม่จำเป็นต้องหนาแน่นรกครึ้มแต่ก็อย่าให้ถึงกับล้านเลี่ยนเตียนโล่งไม่มีที่ให้หลบซ่อนเลย ปลาที่เลี้ยงในสภาพเหมาะสมจะแสดงความโดดเด่นงดงามของมันออกมาเหนือชั้นกว่าช่อนทั้งหลาย


18 Channa marulius (Hamilton, 1822) 
ชื่อทั่วไป : Great snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 183 cm TL
สภาวะแวดล้อม : มีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 24 - 28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ตั้งแต่อินเดีย จนถึง จีน, ทางตอนใต้ของประเทศไทย และ กัมพูชา รวมถึงปากีสถานชนิดนี้จะเป็นช่อนงูเห่าชนิดที่พบในอินเดีย และบังคลาเทศ ซึ่งเป็นคนละชนิดกับช่อนงูเห่าที่พบในประเทศไทยและพม่า ปลาช่อนชนิดนี้มีหน้าตารูปร่างเหมือนงูเห่า คือมีหัวแบนแถมยังมีดอกจันตรงหางเหมือนดอกจันของงูเห่าเปี๊ยบ ลำตัวก็ยาวเรียว ในปากมีเขี้ยวแหลมยาว ปลาชนิดนี้ถ้าพบแล้วให้รีบเผ่น อย่าได้คิดจับมันขึ้นมาเป็นอันขาดเพราะดุร้ายมีพิษ ถ้ากัดโดนเข้าเป็นอันว่าตายลูกเดียว ฟังแบบนี้เด็กที่ไหนก็กลัวกันทั้งนั้นแหละครับ แต่โตขึ้นมาได้รู้จักธรรมชาติของปลามาขึ้น จึงได้พบว่า พวกผู้ใหญ่นี้มันโม้สิ้นดี ผมได้เห็นปลาช่อนงูเห่าเต็มตาก็ในร้านขายปลาร้านหนึ่ง รูปร่างของมันไม่ได้ต่างจากปลาช่อนทั่วไปนัก ผิดกันตรงที่ยาวกว่าเรียวกว่า ส่วนหัวเล็กแบนกว่า ลำตัวมีลายบั้งจาง ๆ พอเห็นไม่จืดชืดอย่างช่อนเบสิก และจุดเด่นสำคัญของปลาชนิดนี้ก็คือวงกลมคล้ายดอกจันตรงโคนหางติดกับครีบ ตรงนี้เองที่ทำให้คนเรียกพวกมันว่าช่อนงูเห่า เพราะมีดอกจันนั่นเอง เรื่องพิษอะไรนั่นก็ปั้นมาหลอกเด็กกันไปตามเรื่องราว ช่อนงูเห่าดูเท่มากถ้าเลี้ยงได้โตเต็มวัยโตเต็มที่ เพราะมันจะเชื่องไม่กลัวคน ออกมาโชว์ออฟหน้าตู้ด้วยการลอยตัวนิ่งโบกครีบว่ายไปมาช้า ๆ การเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่มาก ๆและจัดสภาพเลียนแบบธรรมชาติเท่านั้นถึงจะทำให้ช่อนงูเห่าเติบโตได้ดีและมีลวดลายสวยงาม ตู้ควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 60 นิ้วตกแต่งด้วยขอนไม้ที่เป็นกิ่งก้านและมีพรรณไม้ชนิดที่ชอบแสงน้อย เช่น เฟิร์น หรือต้นอนูเบียสประดับไว้จำนวนหนึ่ง ปล่อยให้มีพื้นที่ว่างด้านหน้าตู้ไว้เพื่อเป็นแคตวอล์กสำหรับปลา ในช่วงแรกปลามักซุกหลบซ่อน จนผ่านไประยะหนึ่งมันจะค่อย ๆ เชื่องแล้วไม่กลัวคนเลยในที่สุด ช่อนงูเห่า มีนิสัยดุร้ายเหมือนชะโดการเลี้ยงรวมกันต้องมีจำนวนมากกว่าสี่หรือห้าตัว ถ้าใส่เพียงคู่เดียวหรือสามตัวปลาจะกัดกันจนตาย สามารถเลี้ยงปลาอื่นรวมลงไปได้ แต่แนะนำว่าควรเลี้ยงเป็นฝูงและมีขนาดความว่องไวมากสักหน่อย อาหารที่ชอบแน่นอนว่าต้องเป็นสัตว์ตัว เล็ก ๆ พอดีปากพอดีคำตามประสาปลาโหด แต่ก็สามารถขัดเกลานิสัยให้หันมากินอาหารสำเร็จรูปได้ และควรเสริมด้วยอาหารสด เนื้อปลา หรือเนื้อกุ้งบ้าง


19 Channa melanoptera (Bleeker, 1855) 
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 65.0 cm TL 
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินโดนีเซีย


20 Channa melasoma (Bleeker, 1851) 
ชื่อทั่วไป : Black snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 30.0 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : แม่น้ำแม่กลองในประเทศไทย ไปจนถึง อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์
ในบ้านเราเรียกกันว่าช่อนดำครับ



21 Channa micropeltes (Cuvier, 1831) 
ชื่อทั่วไป : Giant snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 130 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 25 - 28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, เพนนินซูล่า มาเลเซีย, เกาะต่างๆของสุมาตราและบอร์เนียว อินโดนีเซีย

ปลาชะโดจอมโหดนั่นเองครับ


22 Channa nox (Zhang, Musikasinthorn & Watanabe, 2002) 
ชื่อทั่วไป : Night snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 19.8 cm SL 
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตอบอุ่น
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : จีน


23 Channa orientalis (Bloch & Schneider, 1801) 
ชื่อทั่วไป : Walking snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 33.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : เป็นชนิดที่มีการอพยพ อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย pH. 6-8 dH 5 -19
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 23 - 6 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : อาฟกานิสถาน และ Baluchistan ทางใต้แพร่กระจายไปถึง ศรีลังกา และทางตะวันออกไปถึง อินโดนีเซีย


24 Channa panaw (Musikasinthorn, 1998) 
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 17.1 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : เท่าที่ทราบพบจากลุ่มแม่น้ำอิระวดี (Irrawaddy) และ ซิสแตง (Sittang) ในประเทศพม่าเพียง 2 แหล่งเท่านั้น


25 Channa pleurophthalmus (Bleeker, 1851) 
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 40.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : สุมาตราในอินโดนเซีย และบอเนียว


26 Channa punctata (Bloch, 1793) 
ชื่อทั่วไป : Spotted snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 31.0 cm TL 
สภาวะแวดล้อม : เป็นชนิดที่มีการอพยพ อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำกร่อย
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22-28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, บังคลาเทศ, พม่า และ เขตจีนยูนนาน (Yunnan)


27 Channa stewartii (Playfair, 1867) 
ชื่อทั่วไป : Assamese snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 25.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : พื้นที่ทางตะวันออกของหิมาลายา (อินเดีย และ เนปาล)


28 Channa striata (Bloch, 1793) 
ชื่อทั่วไป : Common snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 100.0 cm SL 
สภาวะแวดล้อม : การอพยพอย่างภายในแหล่งน้ำจืด, อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด และน้ำกร่อย, pH 7 – 8; dH 20, ระดับความลึก 1 – 10 m
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 23-27 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ปากีสถานจนถึงประเทศไทย และทางตอนใต้ของจีน. ในหลายประเทศจากรายงานพบว่าจากการนำเข้าปลาช่อนชนิดนี้เข้ามาในประเทศส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของประเทศเหล่านั้น
ชนิดนี้คือปลาช่อนที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีครับ

เพิ่มเติมอีกนึดนึงนะครับ วงศ์ปลาช่อนที่พบในประเทศไทย จะเห็นว่าบางชนิดจะไม่มีในข้อมูลครับ (www.fishbase.org)
Channa grandinosa (Cuvier, 1831) ก๊วน 
Channa limbata (Cuvier, 1831) ก้าง 
Channa lucius (Cuv. in Cuv. & Val., 1831) กะสง 
Channa aurolineatus (Day, 1870) ล่อน, ช่อนงูเห่า 
Channa maruloides (Bleeker, 1851) ข้าหลวง 
Channa melasoma (Bleeker, 1851) ช่อนดำ 
Channa micropeltes (Cuv. in Cuv. & Val., 1831) ชะโด 
Channa striata (Bloch, 1797) ช่อน 


ปลาก้าง Channa limbata

ชื่ออื่น ปลากั้ง,กั๊ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa limbata (Cuvier,1831)
ชื่อภาษาอังกฤษ Red-Tailed Snakehead
แหล่งอาศัย ทางตอนใต้ของประเทศจีนลงมาจนถึงพม่า ไทย ลาว มาเลเซีย และอินโดนิเซีย
ขนาด 15-20 ซ.ม
ปลาก้าง คือปลาในวงศ์ปลาช่อนเมืองไทยที่มีขนาดเล็กที่สุด สีลำตัวค่อนข้างอ่อนจางมองแทบไม่เห็นลวดลายแต่ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน ปลายครีบหางมีขลิบสีส้ม หากเลี้ยงในสภาพเหมาะสมใกล้เคียงธรรมชาติปลาจะมีสีสันเข้มสวยงามไม่น้อยเหมือนกัน การเลี้ยงปลาก้างไม่วุ่นวายเหมือนหัวงูชนิดอื่นด้วย เหตุเพราะมันตัวเล็กนิดเดียวสามารถเลี้ยงรวมกับปลาก้างรวมกัน จำเป็นต้องให้มีจำนวนมากกว่าสองหรือสามเพราะถึงอย่างไรปลาในวงศ์นี้ก็ยังมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวต่อพวกเดียวกันอยู่นั่นเอง ตู้ที่เหมาะสมเป็นตู้ขนาด 36 นิ้วขึ้นไป(เอาแบบสบาย ๆ เลี้ยงได้หลายตัว) จัดตกแต่งด้วยขอนไม้ที่มีกิ่งก้าน พรรณไม้น้ำต้องเป็นชนิดต้องการแสงน้อย ยิ่งปลามีที่ให้ซุกมาเท่าไหร่ปลาจะยิ่งไม่เครียด เลี้ยงไม่นานก็ออกมา ว่ายปร๋อเสนอหน้าขออาหารกันสลอน ตรงกันข้ามกับตู้ที่โล่งไม่มีวัสดุกำบังอย่างขอนไม้หรือดินเผา ปลาจะเครียดจัด และเมื่อเครียดแล้วสีก็เลยไม่สวย กลายเป็นตุ่น ๆ เทา ๆ นอนซุกตามมุมตู้อย่างซังกะตาย อาหารที่เหมาะสมได้แก่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ เนื้อสัตว์แช่แข็งหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอคำ หรือฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปก็ได้แต่ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง


แล้วก็มาต่อกันที่สกุล  Parachanna อีก 3 ตัวที่เหลือ


1 Parachanna africana (Steindachner, 1879) 

ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 32.0 cm TL 
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 25-28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปแอฟริกา : ตอนใต้ของ Benin (ตอนล่างของแม่น้ำ Oum) จนถึงไนจีเรีย (ตอนล่างของแม่น้ำ Cross)


2 Parachanna insignis (Sauvage, 1884) 
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 41.0 cm TL 
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22-28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปแอฟริกา : เหมือนกับ Parachanna obscura ในบางส่วนของลุ่มน้ำ Ogowe และ Congo


3 Parachanna obscura (Gunther, 1861) 
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 50.0 cm SL 
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 26-28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปแอฟริกา : แม่น้ำไนล์, เซเนกัล ไปจนถึง ระบบแหล่งน้ำ แชด ขึ้นไปถึง ระบบแหล่งน้ำคองโก


ส่วนนี้เพิ่มเติมนะครับ เอามาจาก webboard siamensis

ช่อนเจ็ดสีที่มีขายกันตอนนี้ หมายถึงปลาช่อน 3 ชนิดจากอินเดีย

1. Channa bleheri ช่อนเจ็ดสี ขนาดปลากั๊ง มีลักษณะเด่นที่ไม่มีครีบท้อง มีลายแถบสีแดงแนวเฉียง หรืออาจเป็นจุดที่ครีบหลังและครีบหางเห็นเด่นชัด โตเต็มที่ขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร(ความเห็นที่ 1,9,10 และ 12)

2. Channa sp. (assam) ช่อนเจ็ดสี ชนิดนี้อาจถือได้ว่ามีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาปลาช่อนทั้งหลาย ลักษณะใกล้เคียงกับชนิดแรก ต่างกันที่ไม่มีแถบลายเฉียงที่ครีบหลังและครีบก้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8-10 เซนติเมตร (ความเห็นที่ 7)


3. Channa aurantimaculata ช่อนเจ็ดสีใหญ่ ชนิดนี้มีครีบท้อง ตอนที่มีขนาดเล็กจะแลดูเหมือนปลากั๊งที่มีลายเต็มตัว และเห็นลายบั้งที่ครีบอกชัดเจน นอกจากนี้ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางยังมีลายเห็นได้เด่นชัด สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองสด มีจุดดำกระจายทั่วตัว ลำตัวค่อนข้างเรียวยาว โตเต็มที่ยาวได้กว่า 50 เซนติเมตร (ความเห็นที่ 3)


จริงๆ แล้วพอเรียกว่า "ช่อนเจ็ดสี" ทำให้นึกว่าเป็นปลาโตขนาดปลาช่อนทุกที แต่ถ้าจะเรียก "กั๊งเจ็ดสี" ก็รู้สึกแปลกๆ อย่างไรก็ไม่รู้........ 



ขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
                                    คุณอีกา และ Devilboyz เว็บ pantown.com                              
                                    กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม siamensis.org  
                                    th.wikipedia.org                              
                                    คอลัม หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน                              
                                    ภาพประกอบ google.commmmmm
                                    http://www.mornorfishclub.com 
                                   http://nongtoob1.blogspot.com/2012/05/channidae.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น